วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2553

รีสอร์ทอนุบาล

โรงเรียนอนุบาลรูปแบบใหม่ “ รีสอร์ทอนุบาลทุ่งสง เทศบาลเมืองทุ่งสง"

เป็น Model ใหม่ในการจัดการศึกษาระดับก่อนวัยเรียน ที่นำผลจากการศึกษาวิจัยและองค์ความรู้ใหม่ๆ ในการพัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนมาบูรณาการเข้าด้วยกัน และสังเคราะห์เป็นรูปแบบของการจัดการศึกษาเด็กอายุ 3 - 6 ปี ที่เป็นรูปแบบที่ได้มาจากการสังเคราะห์จากงานวิจัยและองค์ความรู้ใหม่ ๆ โดยเฉพาะทฤษฎีสมอง(BBL) การดำเนินการก่อตั้งโรงเรียนรีสอร์ทอนุบาลมีระยะการดำเนินงาน ดังนี้

ระยะที่ 1 การศึกษาวิจัยศึกษาองค์ความรู้ใหม่ด้านการศึกษาก่อนวัยเรียน(ต.ค. 31-พ.ค.49)

ระยะที่ 2 กำหนดรูปแบบสถานที่ทั้งระบบ การบริหารจัดการ หลักสูตร การจัดประสบการณ์(เม.ย – ต.ค. 49)

ระยะที่ 3 ออกแบบอาคาร สภาพภูมิทัศน์และระบบอาคารสถานที่ตามCONCEPTที่ศึกษาไว้(ต.ค. 49 – ก.ย. 51)

ระยะที่ 4 ยุบนักเรียนระดับก่อนวัยเรียนในโรงเรียนสังกัดเทศบาลทุกโรงมาบริหารจัดการตามรูปแบบที่ได้ศึกษาวิจัยไว้(พ.ค. 51 ถึงปัจจุบัน(รอการสร้างอาคารซึ่งกำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่)บริหารจัดการโดยศึกษานิเทศก์ ซึ่งเป็นผู้วางระบบต่าง ๆและเป็นผู้ดำเนินการจากระยะที่ 1-3

ระยะที่ 5 ก่อสร้างอาคารสถานที่ตามรูปแบบที่กำหนด (เม.ย.51-มี.ค.54)

ระยะที่ 6 ทดลองหลักสูตรและวิธีการสอนต้นแบบที่คิดค้นขึ้นใหม่ ทดลองกับนักเรียน 1ห้องเรียน พร้อมการศึกษาวิจัย(พ.ค.53-มี.ค.54)

ระยะที่ 7 ใช้หลักสูตรและวิธีสอนต้นแบบทั้งระบบ(พ.ค. 54-มี.ค. 56)

ระยะที่ 8 ดำเนินการตามโครงการเต็มรูปแบบ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2555

พื้นที่ก่อสร้างโรงเรียนรีสอร์ทอนุบาล 45 ไร่ อยู่ในเขตเทศบาลเมืองทุ่งสง ในพื้นที่ซึ่งเป็นธรรมชาติ ใกล้กับโรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาลเมืองทุ่งสง ลักษณะของอาคารสถานที่ เน้นรูปแบบอาคาร และสภาพภูมิทัศน์ที่เป็นธรรมชาติ เพื่อสร้างเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการต่าง ๆของนักเรียนภายใต้สภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ มีศูนย์การเรียนรู้ 7 ศูนย์หลัก ได้แก่ ศูนย์ดนตรีและศิลปะ ศูนย์พลศึกษาและนันทนาการ ศูนย์วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ศูนย์เทคโนโลยี ศูนย์ภาษาและวัฒนธรรม ศูนย์นิทานและภาพยนตร์ และศูนย์ธรรมชาติย่อย 6 ศูนย์ (เช่น ศูนย์ทะเลเทียม ศูนย์ผีเสื้อ ศูนย์นก ศูนย์น้ำตก ศูนย์เกษตรแบบพอเพียงและศูนย์ดอกไม้)

ในปลายปีหน้า(ปีการศึกษา 2554 ชาวทุ่งสงเราจะมีโรงเรียนรีสอร์ทอนุบาลของเทศบาล เป็นสถานศึกษาระดับอนุบาลแห่งใหม่ที่รวมเด็กก่อนวัยเรียน จากโรงเรียนในสังกัดของเทศบาลมารวมในที่เดียวกัน และเมื่อก่อสร้างเต็มระบบจะสามารถรองรับนักเรียนได้ 4,000 คน ซึ่งจะเป็นสถานศึกษาที่สามารถพัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

ในช่วงปีการศึกษา 2553 ทั้งปีการศึกษา หน่วยศึกษานิเทศก์จะนำหลักสูตรและวิธีสอน(วิธีสอนแบบรีสอร์ท)ซึ่งพัฒนาขึ้น มาทดลองใช้กับกลุ่มทดลอง ซึ่งเป็นนักเรียนระดับอนุบาล 1 ซึ่งจะรับเข้ามาใหม่ โดยทำการทดลองควบคู่ไปกับการวิจัยเพื่อนำผลมาเปรียบเทียบกับการสอนเดิมที่ปฎิบัติอยู่แล้ว ในการดำเนินการดังกล่าว จะพัฒนาอาคารบ้านพักเดิมของรองปลัดเทศบาลเมืองทุ่งสง(ซึ่งปัจจุบันเลิกใช้แล้ว)เป็นสถานที่ในการทดลองวิจัยดังกล่าว ซึ่งจะพัฒนาสถานที่ให้มีสภาพใกล้เคียงกับรูปแบบสถานที่ซึ่งดำเนินการก่อสร้างอยู่มากที่สุด เช่น มีละเลเทียม น้ำตกจำลอง ศูนย์การเรียนรู้ สวนดอกไม้ที่มีดอกไม้ให้กลิ่นแบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ สติปัญญา สนามกอล์ฟจำลอง เครื่องเล่นสนามแบบสากลและแบบไทย ๆ การใช้เพลงกล่อมเด็กในการพัฒนาด้านอารมณ์ ฯลฯ

วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

2012 วันสิ้นโลก

ภาพยนตร์เรื่อง 2012 วันสิ้นโลก ฉายพร้อมกันทั่วโลกเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2552 ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างขึ้นจากความเชื่อของชนชาวมายา ที่ปฎิทินของชนชาวมายาสิ้นสุดลงแค่ วันที่ 21 ธันวาคม 2012 โดยเชื่อว่า เป็นวันสุดท้ายของโลก จากการได้พูดคุยกับนักชมภาพยนตร์ที่ได้ติดตามการสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้มาตั้งแต่ต้น เล่าให้ฟังว่า แรงดลใจในการสร้าง นอกจากความเชื่อดังกล่าวแล้ว ยังมาจากคำทำนายของนักทำนายชื่อดังอีกหลายคนที่ทำนายตรงกัน และที่น่าสนใจคือ มีชายคนหนึ่งชาวอเมริกาที่บอกว่า ตัวเองโดนมนุษย์ต่างดาวจับตัวไป และได้บอกเรื่องนี้กับชายคนนั้น เมื่อกลับมายังโลกเล่าให้ใคร ๆ ฟังก็ไม่เชื่อ และยังกล่าวหาว่าเป็นคนเสียสติ

ถึงแม้ขณะนี้จะมีนักวิทยาศาสตร์ออกมายืนยันว่าไม่น่าเป็นไปได้ แต่ประโยชน์ของภาพยนต์เรื่องนี้คือการกระตุ้นให้มนุษย์ได้รู้จักรักษ์โลกมากขึ้น และที่สำคัญอยากให้ไปดูว่า คำพุดที่ว่า มนุษย์ทุกคนต่างเอาตัวรอดกันทั้งนั้น อยากให้ดูว่า ในวันสุดท้ายของโลกคุณธรรมต่าง ๆ ยังมีหลงเหลืออยู่หรือไม่ เพียงใด บุคคลแบบใดที่ยังยึดคุณธรรมอยู่แม้จะเป็นวันสุดท้ายของโลก อิทธิพลของนักเขียนหนังสือที่ขายได้แค่ไม่กี่เล่ม แต่มีอิทธิพลต่อแนวคิดของคนบางคน และเป็นหนังสือเล่มเดียวที่เหลืออยู่ในโลกใหม่ ภาพยนตร์เรื่องนี้จะจบลงตรงมนุษนย์จำนวนหนึ่งที่มีโอกาสได้เข้าไปอยู่ในเรือโนอา และเป็นมนุยชาติกลุ่มเดี่ยวที่มีชีวิตรอด และเป็นคนกลุ่มเดียวที่จะไปสร้างโลกใหม่ ในเรือลำนี้มีทั้งนักวิทยาศาสตร์ นักศาสนา นักอนุรักษ์ศิลปะ ทหาร โจร นักการเมือง กรรมกร มหาเศรษฐี คนยากจน ฯลฯ

ภาพยนตร์เรื่องนี้ ไม่ได้กล่าวว่าโลกใหม่หลังจากวิกฤติ คนเหล่านี้จะไปสร้างโลกใหม่อย่างไร มีคำพูดของประธานาธิบดีอเมริกา(ตามเนื้อเรื่อง)ที่ตนเองมีสิทธิที่จะไปกับเรือลำนี้ แต่ไม่ยอมไป ยอมตายกับประชาชน พูดกับนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่ง เพื่อโน้มน้าวให้นักวิทยาศาสตร์คนนี้ไปกับเรือลำนี้ว่า " มีนักวิทยาศาสตร์หนึ่งคนดีกว่ามีนักการเมืองยี่สิบคน"

วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สมาคมศึกษานิเทศก์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งประเทศไทย(MESAT)

รายชื่อคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ

นายจำนน ดอกไม้หอม นายกสมาคม

นายกมล ตราชู อุปนายก

นางกุลชญา เที่ยงตรง อุปนายก

นส.สุนิดา วิทยบำรุง อุปนายก

นส.ปรารถนา เครื่องบิน หน.ฝ่ายวิชาการ

นายคมชาติ จิตวิศรุตกุล ผช.ฝ่ายวิชาการ

นางแพรว ชัยชนะ หน.ฝ่ายทะเบียน

นางวรนารี ปทุมมาศ ผช.ฝ่ายทะเบียน

นายสากล ขวัญทอง เลขานุการ

นางวชิรา ชูสิน ผช.เลขานุการ

นส.วรรณภา วรรณศรี หน.ฝ่ายกิจกรรม

ว่าที่ รต.ปราสัย สุขปิติ ผช.ฝ่ายกิจกรรม

นายไตรรงค์ คำภีรพงศ์ หน.ฝ่ายการเงิน

นายสมเจตต์ ทูลภิรมย์ ผช.ฝ่ายการเงิน

นายเอกพงษ์ วรรณพงษ์ หน.ฝ่ายประชาสัมพันธ์

นายเปรื่องศักดิ์ จินตนา ผช.ฝ่ายประชาสัมพันธ์

นางนันทาวดี ยี่สุ่น ปฎิคม

นางพิมภัทร์ จิตตยานันทกุล เหรัญญิก

วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

บทความด้านการวัดและปะเมินผล

การวัดและประเมินผลมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการแบบมุ่งผลงาน เนื่องจากการวัดและประเมินเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบผลการดำเนินงานตามเป้าหมายและตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในแผนกลยุทธ์ บทความต่อไปนี้จะแสดงให้เห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นในการวัดและประเมินผลทางการศึกษา และความรู้ความเข้าใจที่บุคลากรทางการศึกษาควรรู้ ติดตามจากลิงค์ ด้านล่างนี้

การวัดผลและประเมินผลการศึกษา คลิกที่นี่

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การใช้แนวคิดBSCในการประเมินองค์กรสถานศึกษา

การประเมินมีความจำเป็นและสำคัญต่อการพัฒนาองค์กรเป็นอย่างยิ่ง องค์กรไม่ว่าภาครัฐหรือเอกชนจำเป็นที่จะต้องมีการประเมินองค์กร เพื่อที่จะนำข้อมูลสารสนเทศที่ได้มาตรวจสอบว่าองค์กรดำเนินการได้ตรงตามเป้า(Target) ที่วางไว้เพียงใด การได้ข้อมูลสารสนเทศจากการประเมิน จะทำให้องค์กรทราบจุดอ่อน จุดแข็งของตนเอง และนำมาปรับใช้ได้ตรงประเด็น ทำให้องค์กรพัฒนาไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ในปัจจุบัน องค์กรต่าง ๆ ได้มีการตื่นตัวในเรื่องการประเมินองค์กร โดยเฉพาะองค์กรที่หวังผลกำไร เช่น องค์กรทางธุรกิจ สาเหตุที่ทำให้องค์กรต่าง ๆ ต้องหันมาสนใจการประเมินองค์กร เนื่องจากเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ ในปี 2540 องค์กรทางธุรกิจหลาย ๆ องค์กรเกิดปัญหาด้านการเงิน และในที่สุดองค์กรเหล่านั้นก็ต้องประสบปัญหาถึงขั้นต้องล้มละลาย การเกิดสภาวะวิกฤตดังกล่าว ทำให้องค์กรหันมาสนใจการประเมินมากขึ้น และได้แสวงหาเครื่องมือการประเมินที่มีประสิทธิภาพมาใช้ในการประเมินองค์กรของตนเอง ซึ่งเครื่องมือหนึ่งที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างยิ่ง และมีการนำมาใช้กันอย่างกว้างขวาง คือ ระบบการประเมินองค์กรแบบ Balance Scorecard(BSC)

เครื่องมือประเมินแบบ BSC พัฒนาโดย ดร. โรเบิร์ต เคปแลน และ ดร.เดวิท นอร์ตัน ซึ่งทั้งสองคนเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ โดยในช่วงเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ บุคคลทั้งสอง ได้สำรวจการดำเนินงานขององค์กรต่าง ๆ พบว่า องค์กรเหล่านั้นมีการประเมินองค์กรโดยมองที่ผลกำไร หรือสถานะทางการเงินแต่เพียงอย่างเดียว ไม่ได้มองด้านอื่น ๆไปพร้อม ๆ กัน จากการสำรวจข้อมูลดังกล่าว ทำให้บุคคลทั้งสองพัฒนาระบบการประเมินผลองค์กรขึ้น เรียกว่า Balance Scorecard โดยกำหนดมุมมองในการประเมิน 4 มุมมอง คือ มุมมองด้านการเงิน(Financial Perspective) มุมมองด้านลูกค้า(Customer Perspective) มุมมองด้านกระบวนการภายใน(Internal Process Perspective)และมุมมองด้านการเรียนรู้และพัฒนา(Learning and Growth Perspective)

ในประเทศไทย มีองค์กรทางธุกิจหลายองค์กรนำระบบBalance Scorecard เข้ามาใช้ และประสบความสำเร็จในการดำเนินงาน เช่น ธนาคารกสิกรไทย เซเว่น อีเลฟเว่น ปตท. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ชินวัตคอร์ปอร์เรชั่น เป็นต้น ในภาคราชการได้เริ่มมีการนำระบบBSCมาใช้ เมื่อประมาณ พ.ศ.2547 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการพัฒนาระบบราชการ เพื่อให้องค์กรภาครัฐก้าวทันการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัต สามารถแข่งขันกับอานารยะประเทศได้ ในการพัฒนาระบบราชการ คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการหรือก.พ.ร. ได้ให้บริษัททรีส เป็นผู้วางกรอบการประเมิน และเป็นผู้ดำเนินการประเมินผลการดำเนินงานขององค์กรภาครัฐ ในการดังกล่าว บริษัททรีสนำกรอบแนวคิดของ BSC มาใช้ในการประเมิน และให้องค์กรภาครัฐต่าง ๆ จัดทำคำรับรองผลการปฎิบัติงานโดยใช้กรอบดังกล่าว

ในด้านการศึกษา มีองค์กรทางการศึกษาหลายองค์กรนำหลักการBSCมาใช้ในการประเมิน เช่น มหาวิทยาลัยสยาม สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักประสานงานการศึกษาท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย เป็นต้น โดยแต่ละองค์กรได้ปรับเปลี่ยนชื่อมุมมองต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับบริบทของตนเอง แต่จะอยู่ภายในกรอบแนวคิดตามรูปแบบเดิมที่ ดร.ดรเบิร์ต เคปแลน ฯ พัฒนาขึ้น

ในระดับหน่วยงานปฎิบัติ เช่น โรงเรียน ควรที่จะนำแนวคิดดังกล่าวมาใช้ในการประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อให้สอดคล้องกับหน่วยงานต้นสังกัด โดยเฉพาะรูปแบบการประเมินดังกล่าว เป็นรูปแบบการประเมินที่มีความสมดุลในด้านต่าง ๆ และเหมาะสมกับการพัฒนาระบบราชการแนวใหม่ ที่ต้องการให้หน่วยงานภาครัฐในทุกระดับปฎิบัติงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน(Result base Management:RBM) ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตฉบับที่ 9 และผู้เขียนเองกำลังดำเนินการวิจัยประเมินผลการดำเนินงานโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองทุ่งสง โดยใช้แนวคิด Balance Scorecard โดยประเมินการดำเนินงานของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองทุ่งสง ตามแผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่น ระยะ 3 ปี
(พ.ศ. 2549-2551) ซึ่งแผนพัฒนาฯดังกล่าวได้เสร็จสิ้นแล้ว

อ้างอิง
1. แผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นระยะ 3 ปี(พ.ศ.2549-2551)
2. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9
3. พสุ เดชรินทร์ Balance Scorecard และ KPI
4. ถิระ ถาวรบุตร ระบบการจัดการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
5. คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(ก.พ.ร) คำรับรองการปฎิบัติราชการ
'......................................................................................................................................................................

กลยุทธ์ในการบริหารงานสมัยใหม่ และได้รับความนิยมไปทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ที่ผู้บริหารขององค์กรมองเห็นภาพขององค์กรชัดเจนได้รับรู้ถึงจุดอ่อน ของการบริหารงาน ทั้งจะช่วยในการจัดการองค์กรโดยดูจากผลของการวัดได้จากทุกมุมมอง เพื่อให้เกิดดุลยภาพในทุก ๆ ด้าน มากกว่าที่จะใช้มุมมองด้านการเงินเพียงด้านเดียว อย่างที่องค์กรธุรกิจส่วนใหญ่คำนึงถึง เช่น รายได้ กำไรผลตอบแทนจากเงินปันผล และราคาหุ้นในตลาด อีกทั้ง ยังเป็นระบบการบริหารงานและประเมินผลทั่วทั้งองค์กร ไม่ใช่เฉพาะเป็นระบบการวัดผลเพียงอย่างเดียว แต่จะเป็นการกำหนดวิสัยทัศน์ (vision) และแผนกลยุทธ์ (strategic plan) แล้วแปลผลลงไปสู่ทุกจุดขององค์กรเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานของแต่ละฝ่ายงานและแต่ละคน เป็นการจัดหาแนวทางแก้ไขและปรับปรุงการดำเนินงาน โดยพิจารณาจากผลที่เกิดขึ้นของกระบวนการทำงานภายในองค์กร และผลกระทบจากลูกค้าภายนอกองค์กร นำมาปรับปรุงสร้างกลยุทธ์ให้มีประสิทธิภาพดีและประสิทธิผลดียิ่งขึ้น เมื่อองค์กรได้ปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบ กลยุทธ์ที่มีความนิยมภายใต้ชื่อว่า Balanced Scorecard ที่จะช่วยปรับเปลี่ยนแผนกลยุทธ์ขององค์กรจากระบบ “การทำงานตามคำสั่งหรือสิ่งที่ได้เรียนรู้สืบทอดกันมา (academic exercise)” ไปสู่ระบบ “การร่วม
ใจเป็นหนึ่งเดียวขององค์กร”

Balanced Scorecard (BSC) ได้ถูกพัฒนาขึ้นเมื่อปี 1990 โดย Drs. Robert Kaplan จาก Harvard Business School และ David Norton จาก Balanced Scorecard Collaborative โดยตั้งชื่อระบบนี้ว่า “Balanced Scorecard” ซึ่งเป็นเครื่องมือเทคนิคที่ช่วยการจัดการองค์กรในการประเมินผล และวัดผลการปฏิบัติงานขององค์กร(Paul Arveson, 1998) ซึ่งแต่เดิม การประเมินผลการปฏิบัติงานองค์กรมักเน้นการวัดผลการปฏิบัติงานด้านการเงินเพียงด้านเดียว แต่ BSC จะช่วยเพิ่มมุมมองด้านอื่นเพิ่มขึ้น เป็นต้นว่า มุมมองด้านลูกค้า มุมมอง ด้านกระบวนการภายใน และมุมมองด้านการเรียนรู้ และการพัฒนาขององค์กร นอกจากนั้น BSC ยังเป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยในการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติได้ และทำให้แนวคิดในการประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยใช้ BSC ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายตั้งแต่นั้นมา โดยแนวคิดประเด็นหลักๆ ที่นักวิชาการผู้พัฒนา BSC ได้เสนอไว้ คือ การประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยใช้มุมมองใหม่ในการประเมินผลองค์กรซึ่งประกอบด้วยมุมมอง 4 ด้าน และมุมมองแต่ละด้าน จะมีตัวชี้วัดที่สำคัญ หรือ Key Performance Indicators (KPI) เป็นชุด ที่มีความสัมพันธ์กันคือ

1. มุมมองด้านการเงิน (Financial Perspective) เป็นมุมมองที่มีความสำคัญที่จะบอกถึงผลประกอบการขององค์กรได้ ว่าเป็นอย่างไร มุมมองด้านการเงินมีตัวอย่างของตัวชี้วัด หรือ KPI เช่น การ
เพิ่มขึ้นของกำไรการเพิ่มขึ้นของรายได้หรือยอดขายและการลดลงของต้นทุน

2. มุมมองด้านลูกค้า (Customer Perspective) เป็นมุมมองที่จะตอบคำถามว่าลูกค้ามองเราอย่างไร มีตัวอย่างตัวชี้วัด KPI เช่น ความพึงพอใจของลูกค้า ส่วนแบ่งตลาด การรักษาลูกค้าเก่า การ
เพิ่มขึ้นของลูกค้าใหม่และกำไรต่อลูกค้าเป็นต้น

3. มุมมองด้านกระบวนการภายใน (Internal Process Perspective) เป็นมุมมองที่สะท้อนถึงประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการจัดการองค์กรสามารถนำเสนอคุณค่าที่ลูกค้าต้องการได้ มีตัวอย่างตัวชี้วัด KPI เช่น ผลิตภาพ (Productivity) หรือประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กร กระบวนการขนส่งภายใน การเก็บรักษา และวงจรเวลา (Cycle Time)

4. มุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนา (Learning and Growth Perspective) เป็นมุมมองที่ผู้บริหารจะให้ความสำคัญกับบุคลากรในองค์กร มีตัวอย่างตัวชี้วัด เช่น ความพึงพอใจของพนักงานทัศนคติของพนักงานและอัตราการเข้าออกของพนักงาน

อ้างอิง : ความรู้ของระบบบริหารจัดการคุณภาพ BSC http://pirun.ku.ac.th/~fedupns/eport_sample/supansa/efiles/attach/QC.doc


.....................................................................................................................................................
การนำ BSC มาใช้ในระบบราชการคาดว่าได้นำต้นแบบในการระบุกลุ่มตัวชี้วัดมาจากตัวอย่างบทความในหนังสือของ Dr. Kaplan และ Dr. Norton โดยดัดแปลงกลุ่มตัวชี้วัด ทั้ง 4 ด้านจากภาคเอกมากำหนดเป็นกลุ่มตัวชี้วัดในภาคราชการ คือ ด้านการเงิน ด้านผู้เกี่ยวข้องภายนอก ด้านผู้เกี่ยวข้องภายใน และด้านนวัตกรรม ซึ่งตัวชี้วัดในแต่ละกลุ่มจะประกอบด้วยตัวชี้วัดย่อยอีกหลายตัว เช่น

- ด้านการเงิน วัดจากจำนวนงบประมาณที่สามารถประหยัดได้ และจำนวนบุคลากรที่ลดลงจากกรอบอัตรากำลัง เป็นต้น

- ด้านผู้เกี่ยวข้องภายนอก วัดจากความรวดเร็วในการให้บริการกับผู้มาติดต่อราชการ และระดับความพึงพอใจของผู้มาติดต่อราชการ เป็นต้น

- ด้านผู้เกี่ยวข้องภายใน วัดจากความสำเร็จของการลดขั้นตอนและกระบวนงาน หรือความสำเร็จของการทำพิมพ์เขียวเพื่อการเปลี่ยนแปลง หรือ Blueprint for Change เป็นต้น

- - ด้านนวัตกรรม วัดจากจำนวนบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรมในรอบปี และความสำเร็จของการบริหารความรู้ของหน่วยงาน หรือ Knowledge Management เป็นต้น

อ้างอิง : สหัสชัย เรียงรุ่งโรจน์ Balance Scorecard กับการปฎิบัติราชการในปัจจุบัน

................................................................
การประเมินผลสัมฤทธิ์ของส่วนราชการ

สำนักงาน ก.พ. ได้กำหนด “กรอบการประเมินผลสัมฤทธิ์ของส่วนราชการ” เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จและตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลัก ประกอบด้วย

1. มุมมองด้านผู้มีส่วนเกี่ยวข้องภายนอกองค์กร (External Perspective) เป็นการพิจารณาองค์กรจากผู้รับบริการประชาชน ผู้มีส่วนได้เสียประโยชน์ต่างๆ รัฐบาล หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์พัฒนาเอกชน ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาที่อยู่ในสภาวะแวดล้อมภายนอกองค์กร ฯลฯ

2. มุมมองด้านองค์ประกอบภายในองค์กร (Internal Perspective) เป็นการพิจารณาย้อน กลับไปที่โครงสร้างองค์กร กระบวนการทำงาน ทรัพยากรมนุษย์ ความสามารถหลักขององค์กร วัฒนธรรมและค่านิยม

3. มุมมองด้านนวัตกรรม (Innovation Perspective) เป็นการพิจารณาความสามารถขององค์กรต่อการปรับตัวให้สอดรับกับความต้องการของผู้รับบริการที่เปลี่ยนแปลงในอนาคต การมองไปในอนาคตว่าองค์กรควรริเริ่มสร้างสรรค์อย่างไร เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ดียิ่งกว่าเดิม

4. มุมมองด้านการเงิน (Financial Perspective) ให้ความสำคัญกับการประหยัดทรัพยากรทางการบริหาร ความคุ้มค่าของเงินงบประมาณที่ใช้รวมถึงการทุจริตและประพฤติมิชอบที่ปรากฏ

สมพิศ ใช้เฮ็ง(2550)การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Results Based Management – RBM )
http://www.itie.org/eqi/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=8566
..................................................................................

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(ก.พ.ร) ได้นำแนวคิด Balanced Scorecard (BSC)มาใช้ในการประเมินผลการปฎิบัติราชการและได้มีการประยกต์แนวคิดดังกล่าว ซึ่งในการประเมินผลการปฎืบัติงานภาครัฐ ได้มอบหมาย ให้บริษัท ไทยเรตติ้งแอนด์อินฟอร์เมชั่นเซอร์วิส จำกัด(ทรีซ)เป็นผู้ประเมิน ซึ่งบริษัทดังกล่าวได้นำแนวคิด Balanced Scorecard โดยจัดมุมมอง ออกเป็น 4 มุมมอง แต่เรียกเป็นมิติ ดังนี้
1. มิติด้านประสิทธิผลตามพันธกิจ เทียบได้กับมุมมองด้านการเงิน
2. มิติด้านประสิทธิภาพ เทียบได้กับมุมมองด้านกระบวนการภายใน
3. มิติด้านคุณภาพการให้บริการ เทียบได้กับมุมมองด้านลูกค้า
4. มิติด้านการพัฒนาองค์กร เทียบได้กับมุมมองด้านการเรียนรู้และพัฒนา

อ้างอิง : สมชาย ไตรรัตนภิรมย์, 2547 BSCกับการบริหารงานของรัฐอย่างมีประสิทธิภาพ http://www.strategymine.com/1_info/312.html
.................................................................................
การใช้ BSC ในองค์การทางการศึกษา กรณีศึกษา: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการศึกษาของประเทศ ได้มีการนำแนวคิดBalance Scorecard มาใช้ โดยได้แบ่งมุมมอง(Perspective)ด้านการจัดการศึกษาออกเป็น 4 มุมมอง คือ

1.มุมมองด้านนักเรียน(Student) โดยเน้นที่ โอกาสด้านการได้รับบริการการศึกษา การจบหลักสูตร คุณภาพตามหลักสูตร การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

2.มุมมองด้านกระบวนการภายใน(Internal Process)โดยเน้นด้านรูปแบบการจัดการศึกษา เครื่อข่ายที่เข้าร่วม การพัฒนาหลักสูตร เทคนิควิธีการสอน

3.มุมมองด้านการเรียนรู้และเจริญเติบโต(Learning and Growth) โดยเน้นความสามารถของบุคลากรตามมาตรฐานวิชาชีพ ระบบICTเพื่อการบริหาร วัฒนธรรมค่านิยม

4.มุมมองด้านงบประมาณและทรัพยากร(Budget and Resource)โดยเน้นด้านความเพียงพอของทรัพยากรและเหมาะสม การบริหารทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ

อ้างอิง: วีระเดช เชื้อนาม(2546:28-29) เขย่า Balance Scorecard

ปัญหาภายในหน่วยศึกษานิเทศก์เทศบาลเมืองทุ่งสง

ในสภาพปัญหาของหน่วยศึกษานิเทศก์ กองการศึกษาเทศบาลเมืองทุ่งสง แบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ

1. ด้านปัจจัย เนื่องจากหน่วยงานศึกษานิเทศก์มีศึกษานิเทศก์ จำนวน 2 คน แต่ละคนมีความชำนาญในการนิเทศการสอนเฉพาะวิชาที่ตนเองถนัด
ทำให้การนิเทศในกลุ่มสาระอื่นที่ตนเองไม่ถนัด ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

2. ด้านกระบวนการนิเทศการสอน สภาพปัญหาคือ การพัฒนาศึกษานิเทศก์เพื่อให้มีความรู้ความสามารถในเทคนิคการนิเทศ เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ซึ่งตั้งแต่ปีการศึกษา 2540 เป็นต้นมา การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆในด้านการศึกษาเป็นไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งเกิดจากกระแสการปฎิรูปการศึกษา ทำให้เกิดกระบวนทัศน์ในด้านการจัดการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เช่น การเปลี่ยนแปลงหลักสูตร ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา การสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ การประเมินผลตามสภาพจริง การใช้กระบวนการ PDCA ในการจัดกระบวนการเรียนรู้และการบริหารจัดการ และอื่น ๆ ซึ่งเป็นสิ่งใหม่ในการจัดการศึกษา ซึ่งจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ที่เปลี่ยนไปดังกล่าว ในด้านครู และผู้บริหาร ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง แต่ในส่วนของศึกษานิเทศก์มีการพัฒนาน้อยมาก ส่วนใหญ่ศึกษานิเทศก์จะเป็นผู้ศึกษาหาความรู้เอง ทำให้การพัฒนาของศึกษานิเทศก์ไม่สมดุลกับการพัฒนาบุคลากรด้านอื่น ๆ ทำให้ศึกษานิเทศก์ขาดความมั่นใจ ทำให้ไม่สามารถนิเทศการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่สถานศึกษามีความต้องการให้ศึกษานิเทศก์เข้าไปช่วยเหลือมากขึ้น

3.ด้านบริบทในการทำงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ศึกษานิเทศก์ที่ปฎิบัติหน้าที่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มักจะได้รับความเชื่อถือจากผู้บริหาร โดยให้ศึกษานิเทศก์ไปทำงานอื่น ๆ ที่ไม่ใช่งานในหน้าที่มากขึ้น ทำให้การปฎิบัติหน้าที่ตามภารกิจของศึกษานิเทศก์ น้อยลง ไม่สามารถดำเนินการได้เต็มที่ ส่งผลต่อการพัฒนางานด้านวิชาการและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
แนวทางในการแก้ไข : การแก้ไขมีแนวทาง ดังนี้

1. การแก้ปัญหาด้านความชำนาญในการนิเทศเฉพาะกลุ่มสาระของศึกษานิเทศก์ แก้ปัญหาโดยการพัฒนาครูที่มีความรู้ความสามารถในแต่ละกลุ่มสาระมาช่วยในการนิเทศ โดยศึกษานิเทศก์เป็นผู้ให้ความรู้และเทคนิคในการนิเทศให้ครูเหล่านั้น

2. การแก้ปัญหาด้านองค์ความรู้ในการนิเทศตามแนวทางการปฎิรูปการศึกษา สามารถแก้ปัญหาโดยการพัฒนาหน่วยศึกษานิเทศก์ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีการสร้างเครืองข่ายการนิเทศร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และมีการส่งศึกษานิเทศก์เข้ารับการอบรมเชิงปฎิบัติการเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ให้มากขึ้น จัดทำแผนกลยุทธ์ในการพัฒนาศึกษานิเทศก์ และกำกับให้มีการนำแผนสู่การปฎิบัติอย่างจริงจัง

3. ด้านการปฎิบัติหน้าที่นอกเหนือจากงานตามภารกิจศึกษานิเทศก์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภารกิจที่ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้กำหนดให้
การแก้ปัญหา โดยการสร้างความเข้าใจในความสำคัญของศึกษานิเทศก์ต่อการจัดการศึกษาให้ผู้บริหารเห็นถึงจุดแข็งของศึกษานิเทศก์ และผลเสียที่เกิดขึ้นถ้าศึกษานิเทศก์ไม่ได้ปฎิบัติงานตามหน้าที่อย่างจริงจัง แต่เพื่อไม่ให้กระทบต่อการทำงานของฝ่ายบริหาร จึงเสนอแนะให้ศึกษานิเทศก์หาบุคคลอิ่นมาทำงานนั้น ๆ แทน โดยศึกษานิเทศก์ยังคงช่วยเหลือกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดในการทำงานที่นอกเหนือจากหน้าที่ดังกล่าว

การประเมินผลการดำเนินงาน โรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองทุ่งสง

การประเมินใช้แนวคิด Balance Scorecard (BSC) โดยใช้มุมมอง 4 มุมมองดังนี้
1.มุมมองด้านการเงิน(Financial Perspective)
2,มุมมองด้านลูกค้า(Customer Perspective)
3.มุมมองด้านกระบวนการภายใน(Internal Process Perspertive)
4.มุมมองด้านการเรียนรู้และพัฒนา(Learning and Growth Perspective)